สถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ เป็นองค์กรในกำกับของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีที่ทำการอยู่ที่ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ร่วมปฏิบัติงานกับศูนย์ประสานงานด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารและอาหารไทยภาคเหนือ ตามข้อตกลงของโครงการ การร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้และสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม ในปี พ.ศ. 2547 เพื่อดำเนินการโครงการต่างๆ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารและสินค้าเกษตรตามนโยบายอาหารปลอดภัยและส่งเสริม ครัวไทยเป็นครัวของโลก โดยมีภาระงานหลายด้าน เช่น ตรวจสอบสารตกค้างยาฆ่าแมลงในผัก ผลไม้ และสินค้าเกษตร สารปฏิชีวนะตกค้างในเนื้อสัตว์ วัตถุเจือปนอาหาร บริการตรวจสอบวิเคราะห์อาหาร และคุณภาพน้ำ ฯลฯ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาล เพื่อจัดซื้อเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพและมีความแม่นยำสูง ให้บริการตรวจสอบผลิตภัณฑ์อาหารและสินค้าเกษตร ตามนโยบายอาหารปลอดภัยและส่งเสริมครัวไทยเป็นครัวของโลก จำนวนเงิน 64 ล้านบาท และเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2548 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงได้จัดตั้งสถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ และมอบหมายให้มีการใช้สถานที่และการบริหารงานร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ และวิสัยทัศน์
ปัจจุบันสถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มุ่งเน้นในด้านการบริการทางวิชาการ ให้สอดคล้องกับปรัชญา วิสัยทัศน์ และพันธกิจ ของมหาวิทยาลัย ในรูปแบบการฝึกอบรมให้ความรู้ทางวิชาการด้านการเกษตรและอาหาร การตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารและผลิตภัณฑ์ต่างๆ การให้บริการเครื่องมือวิทยาศาสตร์ แก่นักวิชาการ นักศึกษา ทั้งภายในมหาวิทยาลัยและหน่วยงานภายนอก ตลอดจนแสวงหาความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกทั้งในและต่างประเทศ เพื่อพัฒนางานของสถาบันฯให้ก้าวหน้าและทันสมัยไปพร้อมกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ปัจจุบันมีเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย อาทิเช่น เครื่อง HPLC, LC-MS, GC, GC-MS, AAS, ICP-MS และอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ทางเคมีและทางจุลชีววิทยา รวมถึงจำหน่ายผลิตภัณฑ์หัวเชื้อจุลินทรีย์ชีวภาพ เพื่อสนับสนุนการทำการเกษตรอินทรีย์
ส่งเสริมการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ สร้างองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาท้องถิ่นและประเทศชาติ
"สถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ เป็นองค์กรที่ให้บริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานสินค้า ด้วยห้องปฏิบัติการมาตรฐานสากล ได้รับการยอมรับในระดับประเทศและต่างประเทศ บุคลากรมีความเชี่ยวชาญ พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านอาหารปลอดภัย"
๑. พัฒนาด้านการบริการตรวจสอบและรับรองคุณภาพสินค้าด้วยมาตรฐานระดับสากล
๒. สร้างปัจจัยในการแข่งขันด้านคุณภาพ มาตรฐาน และบุคลากร
๓. เสริมสร้างทักษะแก่บุคลากรให้มีความเป็นมืออาชีพที่ดี
๔. สร้างความเข้มแข็งในด้านระบบคุณภาพและมาตรฐาน