สถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์
Institute of Product Quality and Standardization | ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา | โทรศัพท์ 0 5387 5640

ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีปริมาณการผลิตข้าวสูงสุดเป็นอันดับ 1 และเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก จากการสำรวจข้อมูลพบว่า ข้าวที่ผลิตในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นของสมาชิกสหกรณ์ และสหกรณ์เป็นผู้รวบรวมข้าวจากสมาชิกส่งออกขายให้กับบริษัทส่งออกไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศ 

นายสมชาย ชาญณรงค์กุล   อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวว่า จากการประชุมคณะกรรมการศูนย์อาเซียนเพื่อการพัฒนาสหกรณ์การเกษตร (ACEDAC) ครั้งที่ 19  เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาโดยมีตัวแทนสหกรณ์จากประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศเข้าร่วม ได้แก่ บรูไน  กัมพูชา   อินโดนีเซีย  ลาว มาเลเซีย  พม่า  ฟิลิปปินส์  สิงคโปร์  ไทย เวียดนาม และตัวแทนจากสำนักเลขาธิการอาเซียนเข้าร่วม เพื่อหารือและกำหนดกรอบความร่วมมือ รวมถึงผลักดันกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะมีผลต่อการพัฒนางานสหกรณ์ในภูมิภาคอาเซียนให้เดินหน้าต่อไปในอนาคต     

นายสมชาย กล่าวด้วยว่า การเชื่อมโยงเครือข่ายสหกรณ์ผู้ผลิตข้าวกับประเทศต่าง ๆ ของอาเซียน จะนำไปสู่การรวมกลุ่มตลาดข้าวภูมิภาคประเทศอาเซียน หรือ
อินเตอร์เนชั่นแนล มาร์เก็ต ซึ่งจะช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบสหกรณ์ในภูมิภาคนี้ โดยใช้สินค้าข้าวเป็นตัวนำไปสู่ความร่วมมือด้านอื่น ๆ ที่จะตามมา และนำไปสู่ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสหกรณ์ในระดับภูมิภาคอาเซียนได้ในที่สุด

นายชูเกียรติ  ปันตา ผู้จัดการชุมนุมสหกรณ์จังหวัดลำพูน จำกัด กล่าวว่า  การเชื่อมโยงตลาดข้าวสหกรณ์กับต่างประเทศเป็นสิ่งที่จำเป็น ที่ผ่านมาชุมนุมสหกรณ์จังหวัดลำพูนได้มีการเชื่อมโยงตลาดข้าวสหกรณ์กับผู้นำเข้าข้าวกับประเทศสิงคโปร์ตามโครงการส่งเสริมการปลูกข้าวอินทรีย์เพื่อการส่งออก ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าและการค้าที่เป็นธรรม และมีการลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกันระหว่างชุมนุมสหกรณ์จังหวัดลำพูน จำกัด และห้างหุ้นส่วนจำกัดสุขขะเฮาส์ ประเทศสิงคโปร์ กับสถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้       

ทั้งนี้โครงการดังกล่าวเกิดจากความต้องการข้าวอินทรีย์คุณภาพดี เพื่อขายให้แก่ผู้บริโภคในสิงคโปร์เป็นการตอบแทนต่อสังคม และความต้องการช่วยเหลือให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนที่ดีขึ้น ซึ่งโครงการนี้ทั้งสามฝ่ายมีความรับผิดชอบที่แตกต่างกันออกไป โดยลักษณะพิเศษของข้าวสารชุมนุมฯ คือไม่มีการใช้สารเคมีในทุกขั้นตอนการผลิต เป็นข้าวกล้องแต่มีการขัดถลอก 5% เพื่อให้ข้าวมีความอ่อนนุ่มแต่ยังคงรักษาคุณค่าทางอาหารไว้ ข้าวอินทรีย์ที่ชุมนุมฯ ผลิตมีอยู่ 2-3 ชนิด แต่ที่ผลิตมากที่สุดคือ ข้าวหอมมะลิแดง ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีความอ่อนนุ่ม แตกต่างจากข้าวแดงทั่วไป 

“เราจะให้ความใส่ใจทุกขั้นตอนการผลิต ไม่เน้นปริมาณแต่เน้นคุณภาพ   ทำให้ข้าวของชุมนุมฯ ได้รับการยอมรับเป็นอย่างดีในตลาดสิงคโปร์ เนื่องจากระบบการปลูกข้าวที่ได้มาตรฐาน มีกระบวนการตรวจสอบที่น่าเชื่อถือ ขณะเดียวกันในการทำธุรกิจกับทางสิงคโปร์ ชุมนุมฯ ทำการค้าด้วยความซื่อสัตย์ ไม่เอาเปรียบลูกค้า ผลิตและจำหน่ายสินค้าตามที่ลูกค้าต้องการ และมีการวิจัยและพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ ทั้งด้านบุคลากร ผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยี และการตลาด ประโยชน์จากการดำเนินโครงการดังกล่าวส่งผลให้เกษตรกรสมาชิกจำหน่ายผลผลิตได้ในราคาที่สูงกว่าราคาตลาดประมาณ 5-8 บาทต่อกิโลกรัม และมีความเสี่ยงลดลงจากการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” นายชูเกียรติกล่าว

ทั้งหมดเป็นตัวอย่างของการดำเนินธุรกิจตลาดข้าวสารสหกรณ์ในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งสหกรณ์อื่น ๆ สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการเชื่อมโยงเครือข่ายตลาดข้าวกับประเทศต่าง ๆ ในอาเซียนได้ ซึ่งในอนาคตกรมส่งเสริมสหกรณ์ยังมีแนวคิดที่จะให้มีการสร้างเครือข่ายสินค้าเกษตรที่สำคัญ ๆ อาทิ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน พืชไร่ พืชผัก ผลไม้ ปศุสัตว์ ประมง โคนม ฯลฯ ในตลาดอาเซียนอีกด้วย โดยให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกันผ่านเว็บไซต์ของ ACEDAC รวมทั้งตัวแทนสมาชิกยังได้เสนอให้มีการจัดงานแสดงสินค้าสหกรณ์อาเซียนในงานวันสหกรณ์แห่งชาติของประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งประเทศไทยพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดเป็นครั้งแรกในเร็ว ๆ นี้อีกด้วย.

credit from http://www.dailynews.co.th/agriculture/135223

ปรับปรุงข้อมูล : 1/1/2557 0:00:00     ที่มา : สถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 5086

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

IQS มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต้อนรับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดน่าน ศึกษาดูงานด้านห้องปฏิบัติการและการพัฒนาปัจจัยการผลิต เพื่อเสริมสร้างศักยภาพด้านอุตสาหกรรมท้องถิ่น
วันที่ 4 กรกฎาคม 2568 สถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (IQS) ให้การต้อนรับ คณะจากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดน่าน นำโดย นางสาวนิลเนตร  โลหะพจน์พิลาส ผู้อำนวยการสำนักงานฯ พร้อมทีมงาน จำนวน 45 คน ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานด้านการให้บริการ ได้แก่ ฝ่ายห้องปฏิบัติการ และ ฝ่ายพัฒนาและส่งเสริมปัจจัยการผลิตในโอกาสนี้ ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุริยจรัส  เตชะตันมีนสกุล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวต้อนรับอย่างเป็นทางการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและบุคลากรของสถาบันฯ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ตะวัน  ฉัตรสูงเนิน ผู้อำนวยการสถาบัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉันทนา  ซูแสวงทรัพย์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม นางริมฤทัย  พุทธวงค์ รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารและห้องปฏิบัติการ นางสาวผริตา  วงศ์ไชยลึก หัวหน้าฝ่ายสำนักงานเลขานุการ นายพัฒน์  โกจินอก หัวหน้าฝ่ายพัฒนาและส่งเสริมปัจจัยการผลิต และทีมงาน ร่วมให้การต้อนรับอย่างอบอุ่นกิจกรรมประกอบด้วยการเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ มาตรฐาน ISO/IEC 17025 เพื่อเรียนรู้กระบวนการตรวจวิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์ และการเยี่ยมชม โรงงานผลิตและจำหน่ายจุลินทรีย์ MMO ซึ่งเป็นหนึ่งในผลงานนวัตกรรมของสถาบัน ที่มีบทบาทในการสนับสนุนเกษตรกรและผู้ประกอบการรายย่อยในระดับพื้นที่การเยี่ยมชมในครั้งนี้สะท้อนถึงบทบาทของ IQS ในการเป็นแหล่งเรียนรู้และสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพบุคลากรภาครัฐและเอกชนอย่างต่อเนื่อง#IQSแม่โจ้ #สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดน่าน #ศึกษาดูงาน #มหาวิทยาลัยแม่โจ้ #จุลินทรีย์MMO #พัฒนาปัจจัยการผลิต #ห้องปฏิบัติการมาตรฐาน #นวัตกรรมเพื่อชุมชน #ส่งเสริมSMEs #ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมฐานราก #หน่วยงานภาครัฐสู่ความร่วมมือเชิงพื้นที่
4 กรกฎาคม 2568     |      2
IQS ส่งบุคลากรร่วมพัฒนาศักยภาพงานพัสดุภาครัฐ เสริมความรู้คณะกรรมการตรวจรับ
ระหว่างวันที่ 19-20 มิถุนายน 2568 รองผู้อำนวยการสถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ (IQS) คุณริมฤทัย พุทธวงค์ พร้อมด้วยหัวหน้าฝ่ายสำนักงานเลขานุการ คุณผริตา วงศ์ไชยลึก และบุคลากรจากสถาบันฯ ได้แก่ คุณสุชัญญา โกจินอก และคุณกีรติญา วสินันท์ ได้เข้าร่วม โครงการพัฒนาทักษะและเสริมสร้างศักยภาพผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานการบริหารพัสดุของหน่วยงานภาครัฐ ณ ห้องประชุมข้าวหอมมะลิ วิทยากร โดย คุณอุทัย ทองคุ้ม ที่ปรึกษาของสถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และเป็นผู้เชี่ยวชาญกฎหมายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ โครงการฯ ประกอบด้วย 2 หลักสูตรสำคัญ ได้แก่ 1. หลักสูตร "การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานจัดซื้อ-จัดจ้าง" 2. หลักสูตร "การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานจ้างก่อสร้างและผู้ควบคุมงาน" การเข้าร่วมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในบทบาท หน้าที่ และแนวปฏิบัติที่ถูกต้องตามระเบียบของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ตลอดจนการควบคุมงานก่อสร้างให้เป็นไปตามข้อกำหนดของภาครัฐ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานด้านจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุของสถาบันฯ อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป #IQS#การตรวจรับพัสดุ#จัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ#พัฒนาศักยภาพบุคลากร#อบรมภาครัฐ#พัสดุก่อสร้าง#สถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์#MJU
20 มิถุนายน 2568     |      15
IQS มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเครือข่ายเกษตรกรฯ เพื่อยกระดับการผลิตทุเรียนพรีเมียมสู่ตลาดสากล
วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน 2568 เวลา 09.30 – 14.30 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ตะวัน ฉัตรสูงเนิน ผู้อำนวยการสถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้าร่วมการประชุม คณะกรรมการบริหารโครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเครือข่ายเกษตรกรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทุเรียนพรีเมียมสู่สากล ครั้งที่ 1/2568ผ่านระบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Zoom Cloud Meeting) ซึ่งจัดโดย สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยมีสถานที่ประชุมหลัก ณ ห้องประชุม Innovation Meeting Room ชั้น 6 โซน A อาคารพระจอมเกล้า สป.อว. (โยธี) กรุงเทพมหานครการประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหารือแนวทางการดำเนินงานของโครงการฯ ให้มีประสิทธิภาพ บรรลุวัตถุประสงค์ ตลอดจนเปิดโอกาสให้คณะกรรมการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมแสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนนโยบายเชิงพื้นที่ในระดับประเทศการประชุมจัดขึ้นภายหลังจากที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการฯ ซึ่งมีบุคลากรจากหลากหลายหน่วยงาน รวมถึงผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ตะวัน ฉัตรสูงเนิน เข้าร่วมในฐานะกรรมการ เพื่อร่วมกำหนดทิศทางในการยกระดับเกษตรกรรมไทย โดยเฉพาะด้านการผลิตทุเรียนพรีเมียมให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล#IQSแม่โจ้#สถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์#มหาวิทยาลัยแม่โจ้#พัฒนาเกษตรกรด้วยนวัตกรรม#ทุเรียนพรีเมียมสู่สากล#กระทรวงการอุดมศึกษา#เกษตรแม่นยำ#ประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการ#วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการเกษตร#พืชเศรษฐกิจไทย#DurianPremium#SmartAgriculture#InnovationForFarmers
19 มิถุนายน 2568     |      16
IQS มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการฯ เพื่อพัฒนาแนวทางการศึกษาวิจัยผลกระทบจากนโยบายพืชกระท่อมในประเทศไทย
วันพุธที่ 18 มิถุนายน 2568 เวลา 08.30 – 16.30 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ตะวัน ฉัตรสูงเนิน ผู้อำนวยการสถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ เข้าร่วม โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาแนวทางการศึกษาวิจัยผลกระทบจากนโยบายพืชกระท่อมในประเทศไทย ณ โรงแรมทีเค.พาเลซ แอนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร โดยมีหน่วยงานจัดงานคือ สถาบันสำรวจและควบคุมพืชเสพติด สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.)การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อระดมความคิดเห็น แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และพัฒนากรอบแนวคิดในการศึกษาวิจัยผลกระทบจากนโยบายพืชกระท่อมในหลากหลายมิติ ทั้งด้านสุขภาพ/สาธารณสุข ด้านสังคม/ชุมชน ด้านเศรษฐกิจ ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย ตลอดจนเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างนักวิชาการ นักวิจัย ผู้กำหนดนโยบาย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงร่างข้อเสนอเชิงนโยบายสำหรับการติดตามผลกระทบในระยะยาวในการประชุมได้รับเกียรติจาก นายเพิ่มพงษ์ เชาวลิต ที่ปรึกษาสำนักงาน ป.ป.ส. เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษหัวข้อ “การเปลี่ยนผ่านนโยบายพืชกระท่อมของไทย” และมีการอภิปรายในหัวข้อ “พืชกระท่อมในนโยบายสาธารณะไทย” โดยผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายสาขา เช่น รศ.พญ.รัศมน กัลยาศิริ, ผศ.ดร.สมชาย ศรีวิริยะจันทร์, นายทรงเมท สังข์น้อย, นายสุรศักดิ์ เรือนศรี และ ผศ.ดร.นพ.อภินันท์ อร่ามรัตน์ช่วงบ่ายมีการระดมสมองในรูปแบบกลุ่มย่อย แบ่งเป็น 5 กลุ่มตามมิติเฉพาะ ได้แก่ กลุ่มสุขภาพ/สาธารณสุข, กลุ่มสังคม/ชุมชน, กลุ่มเศรษฐกิจ, กลุ่มสิ่งแวดล้อม และกลุ่มกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย โดยผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการนี้ ได้แก่ การได้ประเด็นสำคัญและขอบเขตของการศึกษาวิจัยที่ครอบคลุมในทุกมิติ การพัฒนากรอบแนวคิดที่ชัดเจนสำหรับการศึกษาผลกระทบจากนโยบาย การสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ และข้อเสนอเชิงนโยบายที่สามารถนำไปใช้ในการกำหนดทิศทางการดำเนินงานอย่างยั่งยืนและเหมาะสมกับบริบทของประเทศ#ประชุมเชิงปฏิบัติการ#พืชกระท่อม#นโยบายพืชกระท่อม#วิจัยผลกระทบพืชกระท่อม#สพส#สำนักงานปปส#มหาวิทยาลัยแม่โจ้#งานวิจัยนโยบาย#เครือข่ายนักวิจัย#ร่วมขับเคลื่อนนโยบาย#วิจัยเพื่ออนาคต#IQS#Maejo#IQSMAEJO#แม่โจ้#จุลินทรีย์ชีวภาพ#จุลินทรีย์#วิเคราะห์ทดสอบ#ตรวจวิเคราะห์สารตกค้าง#เชียงใหม่#เกษตรแม่โจ้#อบรม#วิทยาศาสตร์#จุลชีววิทยา
19 มิถุนายน 2568     |      20