สถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์
Institute of Product Quality and Standardization | ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา | โทรศัพท์ 0 5387 5640
เรียนลูกค้าที่มาใช้บริการ ทางสถาบันฯ ของดรับตัวอย่างและงดให้บริการในวันที่ 3-11 พฤษภาคม 2555 เนื่องจากทางสถาบันฯ ไปจัดทำแผนปฏิบัติราชการต่างจังหวัด
ปรับปรุงข้อมูล : 5/1/2555 15:10:31     ที่มา : สถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 8941

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวประกาศ

ข่าวล่าสุด

IQS จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “การประมาณค่าความไม่แน่นอนของผลการทดสอบทางจุลชีววิทยา ISO 19036 : 2019”
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม 2568 สถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (IQS) จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “การประมาณค่าความไม่แน่นอนของผลการทดสอบทางจุลชีววิทยา ISO 19036 : 2019” ณ ห้องประชุมข้าวหอมกุหลาบแดง ชั้น 2 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับความรู้ ความเข้าใจ และทักษะด้านการประเมินค่าความไม่แน่นอนในห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาให้สอดคล้องตามมาตรฐานสากลการอบรมครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้การสนับสนุนจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ตะวัน ฉัตรสูงเนิน ผู้อำนวยการสถาบันฯ และนางริมฤทัย พุทธวงค์ รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารและห้องปฏิบัติการ ซึ่งให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมองค์ความรู้ทางวิชาการและการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่องในการอบรมครั้งนี้ สถาบันฯ ได้รับเกียรติจากคุณพีรพล เปรมประสพโชค วิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านคุณภาพและการบริหารจัดการระบบ ISO/IEC 17025 ห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา ซึ่งได้ถ่ายทอดความรู้เชิงลึก พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับข้อกำหนดมาตรฐาน ISO 19036 : 2019 โดยเนื้อหาครอบคลุมทั้งความหมายและหลักการของการประมาณค่าความไม่แน่นอนแหล่งที่มาของความไม่แน่นอนในการทดสอบการวางแผนการทดสอบและการกำหนดกลุ่มตัวอย่างวิธีการหาค่า Technical uncertainty, Matrix uncertainty และ Distributional uncertainties การคำนวณค่าความไม่แน่นอนรวม (Combined and Expanded Uncertainty) แนวทางการรายงานผลการทดสอบที่ถูกต้องและเชื่อถือได้
16 พฤษภาคม 2568     |      10
IQS ลงนาม MOU ร่วมกับคณะวิศวกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เดินหน้าสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านวิชาการและนวัตกรรมเพื่อสังคม
เมื่อวันอังคารที่ 13 พฤษภาคม 2568 สถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ตะวัน ฉัตรสูงเนิน ผู้อำนวยการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉันทนา ซูแสวงทรัพย์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม, นางริมฤทัย พุทธวงค์ รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารและห้องปฏิบัติการ, นางสาวผริตา วงศ์ไชยลึก หัวหน้าฝ่ายสำนักงานเลขานุการ, นายพัฒน์ โกจินอก หัวหน้าฝ่ายพัฒนาและส่งเสริมปัจจัยการผลิต, นายวรินทร โภคารัตน์ หัวหน้าฝ่ายที่ปรึกษาและโครงการพิเศษ และนักวิทยาศาสตร์ของสถาบัน ร่วมลงนามพร้อมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ (Memorandum of Understanding : MOU) กับ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีผู้บริหารจากคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรเข้าร่วมในพิธี ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นำพร ปัญโญใหญ่ รองคณบดีฝ่ายวิจัย นวัตกรรม และบริการวิชาการ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิตินันท์ รัตนพรหม รองคณบดีฝ่ายวิชาการและการต่างประเทศ, อาจารย์ ดร.แพรวพรรณ จอมงาม ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายเทคโนโลยี นวัตกรรม และจัดหารายได้ และนายสุมิตร เชื่อมชัยตระกูล นักวิทยาศาสตร์ ความร่วมมือในครั้งนี้นับเป็นก้าวสำคัญในการบูรณาการองค์ความรู้และศักยภาพระหว่างหน่วยงานด้านการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ของสถาบันฯ กับองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีของคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร เพื่อสนับสนุนการให้บริการวิชาการแก่สังคมอย่างรอบด้าน อาทิ การตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ การถ่ายทอดเทคโนโลยี การเสริมสร้างศักยภาพนักศึกษาและบุคลากร ตลอดจนการพัฒนาระบบการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้มีความแม่นยำ ทันสมัย และสอดคล้องกับความต้องการของภาคส่วนต่าง ๆ
13 พฤษภาคม 2568     |      19
IQS จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเสริมศักยภาพบุคลากร ด้านการทดสอบจุลชีววิทยาตามมาตรฐานสากล ISO 7218:2024
วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม 2568 สถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (IQS) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “ข้อกำหนดทั่วไปและแนวทางการทดสอบทางจุลชีววิทยา” ตามมาตรฐาน ISO 7218:2024 ณ ห้องประชุมข้าวหอมกุหลาบแดง ชั้น 2 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา การอบรมครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้การสนับสนุนจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ตะวัน ฉัตรสูงเนิน ผู้อำนวยการสถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ และ นางริมฤทัย พุทธวงค์ รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารและห้องปฏิบัติการ ซึ่งให้ความสำคัญกับการส่งเสริมองค์ความรู้และยกระดับศักยภาพของบุคลากรทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับเกียรติจาก คุณพีรพล เปรมประสพโชค วิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านคุณภาพและการบริหารจัดการระบบ ISO/IEC 17025 ห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา มาถ่ายทอดความรู้ พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับ - การจัดการห้องปฏิบัติการให้มีความปลอดภัยและเหมาะสม - การควบคุมกระบวนการตั้งแต่การเตรียมตัวอย่าง การใช้เทคนิคปลอดเชื้อ - การเลือกอาหารเลี้ยงเชื้อ และการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ/เชิงปริมาณ - การทดสอบ ยืนยัน ตรวจสอบความถูกต้อง การจัดทำรายงาน - การควบคุมคุณภาพด้วยมาตรฐานที่เชื่อถือได้ - แนวทางการทำ Validation และ Verification ผู้สนใจสามารถติดตามข่าวสารและกิจกรรมอบรมครั้งถัดไปได้ที่ Facebook Page : Maejo IQS
8 พฤษภาคม 2568     |      30
IQS จัดอบรมข้อกำหนดมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2017 เสริมทักษะด้านมาตรฐานห้องปฏิบัติการ
เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2568 ที่ผ่านมา สถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ Maejo University ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “ข้อกำหนดมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2017” ณ ห้องข้าวสาลี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อกำหนดห้องปฏิบัติการและแนวทางการปฏิบัติที่สามารถนำไปใช้จริงในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนอย่างดียิ่งจาก ผศ.ดร.ตะวัน  ฉัตรสูงเนิน ผู้อำนวยการสถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ และ นางริมฤทัย  พุทธวงค์ รองผู้อำนวยการฯ ซึ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยผ่านการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านมาตรฐานสากลอย่างต่อเนื่องในการอบรมครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก คุณศุภกิจ สอนประจักษ์ วิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการ (มาตรฐาน ISO/IEC 17025) มาให้ความรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ตรงแก่ผู้เข้าร่วมอบรม ทั้งในด้านข้อกำหนดหลักของมาตรฐาน โครงสร้างองค์กร การบริหารจัดการทรัพยากร กระบวนการดำเนินงาน และระบบการจัดการคุณภาพที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานต่าง ๆ ได้อย่างเป็นรูปธรรมหัวข้อการอบรมประกอบด้วยข้อกำหนดที่สำคัญตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2017 อาทิ ข้อกำหนดโครงสร้างองค์กร การบริหารทรัพยากร กระบวนการทำงาน ตลอดจนระบบการจัดการ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานในหน่วยงานของตนได้จริง และเกิดประโยชน์สูงสุดในการควบคุมคุณภาพผลการทดสอบหรือการสอบเทียบให้ถูกต้อง น่าเชื่อถือ และสอดคล้องกับมาตรฐานสากลการอบรมในครั้งนี้ได้รับความสนใจจากทั้งบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และบุคลากรจากหน่วยงานภายนอกที่เล็งเห็นความสำคัญของการยกระดับมาตรฐานการดำเนินงานภายในห้องปฏิบัติการ นอกจากนี้ ทางสถาบันฯ ยังมีแผนจัดการอบรมในหัวข้ออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานคุณภาพและการพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการอีกหลายหัวข้อในอนาคต ผู้ที่สนใจ???สามารถติดตามข่าวสารและกิจกรรมอบรมครั้งถัดไปได้ทาง Facebook Page : Maejo IQS
3 พฤษภาคม 2568     |      37