สถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์
Institute of Product Quality and Standardization | ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา | โทรศัพท์ 0 5387 5640

ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีปริมาณการผลิตข้าวสูงสุดเป็นอันดับ 1 และเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก จากการสำรวจข้อมูลพบว่า ข้าวที่ผลิตในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นของสมาชิกสหกรณ์ และสหกรณ์เป็นผู้รวบรวมข้าวจากสมาชิกส่งออกขายให้กับบริษัทส่งออกไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศ 

นายสมชาย ชาญณรงค์กุล   อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวว่า จากการประชุมคณะกรรมการศูนย์อาเซียนเพื่อการพัฒนาสหกรณ์การเกษตร (ACEDAC) ครั้งที่ 19  เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาโดยมีตัวแทนสหกรณ์จากประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศเข้าร่วม ได้แก่ บรูไน  กัมพูชา   อินโดนีเซีย  ลาว มาเลเซีย  พม่า  ฟิลิปปินส์  สิงคโปร์  ไทย เวียดนาม และตัวแทนจากสำนักเลขาธิการอาเซียนเข้าร่วม เพื่อหารือและกำหนดกรอบความร่วมมือ รวมถึงผลักดันกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะมีผลต่อการพัฒนางานสหกรณ์ในภูมิภาคอาเซียนให้เดินหน้าต่อไปในอนาคต     

นายสมชาย กล่าวด้วยว่า การเชื่อมโยงเครือข่ายสหกรณ์ผู้ผลิตข้าวกับประเทศต่าง ๆ ของอาเซียน จะนำไปสู่การรวมกลุ่มตลาดข้าวภูมิภาคประเทศอาเซียน หรือ
อินเตอร์เนชั่นแนล มาร์เก็ต ซึ่งจะช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบสหกรณ์ในภูมิภาคนี้ โดยใช้สินค้าข้าวเป็นตัวนำไปสู่ความร่วมมือด้านอื่น ๆ ที่จะตามมา และนำไปสู่ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสหกรณ์ในระดับภูมิภาคอาเซียนได้ในที่สุด

นายชูเกียรติ  ปันตา ผู้จัดการชุมนุมสหกรณ์จังหวัดลำพูน จำกัด กล่าวว่า  การเชื่อมโยงตลาดข้าวสหกรณ์กับต่างประเทศเป็นสิ่งที่จำเป็น ที่ผ่านมาชุมนุมสหกรณ์จังหวัดลำพูนได้มีการเชื่อมโยงตลาดข้าวสหกรณ์กับผู้นำเข้าข้าวกับประเทศสิงคโปร์ตามโครงการส่งเสริมการปลูกข้าวอินทรีย์เพื่อการส่งออก ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าและการค้าที่เป็นธรรม และมีการลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกันระหว่างชุมนุมสหกรณ์จังหวัดลำพูน จำกัด และห้างหุ้นส่วนจำกัดสุขขะเฮาส์ ประเทศสิงคโปร์ กับสถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้       

ทั้งนี้โครงการดังกล่าวเกิดจากความต้องการข้าวอินทรีย์คุณภาพดี เพื่อขายให้แก่ผู้บริโภคในสิงคโปร์เป็นการตอบแทนต่อสังคม และความต้องการช่วยเหลือให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนที่ดีขึ้น ซึ่งโครงการนี้ทั้งสามฝ่ายมีความรับผิดชอบที่แตกต่างกันออกไป โดยลักษณะพิเศษของข้าวสารชุมนุมฯ คือไม่มีการใช้สารเคมีในทุกขั้นตอนการผลิต เป็นข้าวกล้องแต่มีการขัดถลอก 5% เพื่อให้ข้าวมีความอ่อนนุ่มแต่ยังคงรักษาคุณค่าทางอาหารไว้ ข้าวอินทรีย์ที่ชุมนุมฯ ผลิตมีอยู่ 2-3 ชนิด แต่ที่ผลิตมากที่สุดคือ ข้าวหอมมะลิแดง ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีความอ่อนนุ่ม แตกต่างจากข้าวแดงทั่วไป 

“เราจะให้ความใส่ใจทุกขั้นตอนการผลิต ไม่เน้นปริมาณแต่เน้นคุณภาพ   ทำให้ข้าวของชุมนุมฯ ได้รับการยอมรับเป็นอย่างดีในตลาดสิงคโปร์ เนื่องจากระบบการปลูกข้าวที่ได้มาตรฐาน มีกระบวนการตรวจสอบที่น่าเชื่อถือ ขณะเดียวกันในการทำธุรกิจกับทางสิงคโปร์ ชุมนุมฯ ทำการค้าด้วยความซื่อสัตย์ ไม่เอาเปรียบลูกค้า ผลิตและจำหน่ายสินค้าตามที่ลูกค้าต้องการ และมีการวิจัยและพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ ทั้งด้านบุคลากร ผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยี และการตลาด ประโยชน์จากการดำเนินโครงการดังกล่าวส่งผลให้เกษตรกรสมาชิกจำหน่ายผลผลิตได้ในราคาที่สูงกว่าราคาตลาดประมาณ 5-8 บาทต่อกิโลกรัม และมีความเสี่ยงลดลงจากการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” นายชูเกียรติกล่าว

ทั้งหมดเป็นตัวอย่างของการดำเนินธุรกิจตลาดข้าวสารสหกรณ์ในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งสหกรณ์อื่น ๆ สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการเชื่อมโยงเครือข่ายตลาดข้าวกับประเทศต่าง ๆ ในอาเซียนได้ ซึ่งในอนาคตกรมส่งเสริมสหกรณ์ยังมีแนวคิดที่จะให้มีการสร้างเครือข่ายสินค้าเกษตรที่สำคัญ ๆ อาทิ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน พืชไร่ พืชผัก ผลไม้ ปศุสัตว์ ประมง โคนม ฯลฯ ในตลาดอาเซียนอีกด้วย โดยให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกันผ่านเว็บไซต์ของ ACEDAC รวมทั้งตัวแทนสมาชิกยังได้เสนอให้มีการจัดงานแสดงสินค้าสหกรณ์อาเซียนในงานวันสหกรณ์แห่งชาติของประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งประเทศไทยพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดเป็นครั้งแรกในเร็ว ๆ นี้อีกด้วย.

credit from http://www.dailynews.co.th/agriculture/135223

ปรับปรุงข้อมูล : 1/1/2557 0:00:00     ที่มา : สถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 5022

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

IQS ส่งมอบงานงวดที่ 3 สรุปผลการดำเนินกิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปเป้าหมาย ภายใต้โครงการการยกระดับสินค้าเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ณ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
วันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 ฝ่ายที่ปรึกษาและโครงการพิเศษ สถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ (IQS) นำโดย นายวรินทร โภคารัตน์ นางสาววิลาวรรณ เรือนสิทธิ์ นางสาวจิดาภา ตาลาน นางสาวสิริภัทร วังซ้าย และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉันทนา ซูแสวงทรัพย์ ส่งมอบงานงวดที่ 3 สรุปผลการดำเนินกิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปเป้าหมาย ภายใต้โครงการการยกระดับสินค้าเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ณ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มีนางสาวชฎาพร วรรณแก้ว นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการพิเศษ นางทิพย์มณฑา จินะวงค์ นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการ นางสาวหทัยกานต์ ปะระดี นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการ นางสาววราวรรณ ทองมี นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการ และนางสาวฐิติญาดา ลี้วิเศษ นักวิชาการอุตสาหกรรม ตรวจรับงาน
20 พฤศจิกายน 2567     |      23
ต้อนรับคณะดูงานจากสภาเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่
วันนี้ (20 พฤศจิกายน 2567) สถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ (IQS) ให้การต้อนรับคณะเยี่ยมชมดูงานจากสภาเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 11 ท่าน นำโดย นายวิทยา  นาระต๊ะ ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ นายวิทวัฒน์  พรมสอน หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ นายณัฐวัชฑ์  ผ่องเกษม หัวหน้าส่วนยุทธศาสตร์การเกษตร นางสาวนุสรา  ภูทอง หัวหน้าส่วนอำนวยการ นางศรัณยา  กิตติคุณไพศาล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านพืช  นางสาวภูริตา  ชาญธนะภิญโญ สมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ อำเภอดอยสะเก็ด นายชยางกูร  ชินวรภัทร สมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ อำเภอสันทราย นายบัญชาการ  พลชมชื่น สมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ อำเภอสารภี นางสาววรินทร์กมล  กฤตฤกษ์ นักวิชาการเกษตรชำนาญการ นางสาวนารี  คิอินธิ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ และนางสาวนราทิพย์  วิชัยดิษฐ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ  โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ตะวัน  ฉัตรสูงเนิน ผู้อำนวยการสถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉันทนา  ซูแสวงทรัพย์ นางริมฤทัย  พุทธวงค์ หัวหน้าฝ่ายห้องปฏิบัติการ นายพัฒน์  โกจินอก หัวหน้าฝ่ายพัฒนาและส่งเสริมปัจจัยการผลิต นางสาวผริตา  วงศ์ไชยลึก หัวหน้าฝ่ายสำนักงานเลขานุการ และรองศาสตราจารย์ ดร.ดนุวัต  เพ็งอ้น ร่วมให้การต้อนรับ และนำเข้าเยี่ยมชมการดำเนินงานของสถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ณ ห้องข้าวหอมแดงโดยได้แนะนำบุคลกรของแต่ละฝ่ายงาน รับชมวิดีโอแนะนำสถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ศึกษาดูงานห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ อาทิ เครื่องวิเคราะห์ผลผลิตเกษตร เครื่องวิเคราะห์สารตกค้างยาฆ่าแมลง และการวิเคราะห์โลหะหนัก จุลินทรีย์ งานกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน เป็นต้น  ศึกษาดูงานห้องนิทรรศการข้าว และศึกษาดูงานโรงงานผลิตจุลินทรีย์ รวมถึงพูดคุยหารือในกรอบความร่วมมือระหว่าง 2 หน่วยงาน และได้ร่วมรับทานอาหารกลางวันร่วมกัน
20 พฤศจิกายน 2567     |      33
จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “เทคนิคการแยกสารด้วยวิธีโครมาโตกราฟีขั้นพื้นฐาน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมยิ่งขึ้น" วิทยากรโดยบริษัท บูชิ (ไทยแลนด์) จำกัด
วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน 2567 บริษัท บูชิ (ไทยแลนด์) จำกัด ร่วมกับสถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “ เทคนิคการแยกสารด้วยวิธีโครมาโตกราฟีขั้นพื้นฐาน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมยิ่งขึ้น ” ให้กับผู้ที่สนใจทั่วไป เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในหลักการของเทคนิคการแยกสารด้วยวิธีโครมาโตกราฟี พร้อมแนะนำแนวทาง การประยุกต์ใช้ การทำงาน และงานวิจัยในอนาคต โดยมีคุณรุ่งทิวา เผือดผ่อง ตำแหน่ง ผู้เชี่ยวชาญผลิตภัตภัณฑ์ (Product specilist) บริษัท บูชิ (ไทยแลนด์) จำกัด เป็นวิทยากร และทีมงาน ทั้งนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ตะวัน ฉัตรสูงเนิน ผู้อำนวยการสถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ นางริมฤทัย พุทธวงค์ หัวหน้าฝ่ายห้องปฏิบัติบัติการ พร้อมด้วยบุคลากรในฝ่ายห้องปฏิบัติการนางสาวสุปราณี แก้วเทียน นางสาวสุชัญญา โกจินอก นายพาตี้ลูลา โอ่โดเชา นางสาวธนพร ดวงเดช นางสาวทิพรดา จันทร์คำ และนางสาวธนาพร สอนหล้าวงศ์ ร่วมดำเนินกิจกรรม
12 พฤศจิกายน 2567     |      75