สถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์
Institute of Product Quality and Standardization | ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา | โทรศัพท์ 0 5387 5640
วันพุธที่ 29 มกราคม 2568 พิธีเปิดกิจกรรมโครงการยกระดับเกษตรกรผู้ผลิตพืชอินทรีย์ด้วยมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (PGS) โดยได้รับเกียรติจาก คุณสุพิศ เถียรทิม นายกเทศมนตรีตำบลหนองหาร เป็นประธานกล่าวเปิดงาน พร้อมมอบโอวาทแก่ผู้เข้าร่วม
กิจกรรมครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับเกษตรกรในระบบมาตรฐาน PGS (Participatory Guarantee System) ซึ่งเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน และผลักดันการพัฒนาเกษตรอินทรีย์อย่างยั่งยืน
เนื้อหาในกิจกรรมวันที่ 29 มกราคม 2568 มีการบรรยายเชิงวิชาการที่ครอบคลุมหลากหลายหัวข้อ ได้แก่
- ระบบควบคุมเกษตรอินทรีย์แบบสำรวจมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (Maejo PGS) และการผลิตปศุสัตว์อินทรีย์ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทองเลียน บัวจูม
- ระบบควบคุมเกษตรอินทรีย์แบบแม่โจ้ PGS และการผลิตพืชอินทรีย์ โดย นายรุ่งโรจน์ มณี
- การใช้แมลงในการกำจัดศัตรูพืช โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ระวี คเนชาบริรักษ์
- การทำเกษตรปลอดการเผา โดย คุณสุรัสวดี วรวุฒิพุทธพงศ์ เกษตรอำเภอสันทราย
- ความสำคัญในการตรวจดินและน้ำในพื้นที่เกษตรอินทรีย์ โดย คุณริมฤทัย พุทธวงค์
การจัดงานครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อยกระดับความรู้และทักษะของเกษตรกรในชุมชน ช่วยส่งเสริมคุณภาพผลผลิตเกษตรอินทรีย์ให้ได้มาตรฐาน เพิ่มโอกาสทางการตลาด และสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจในพื้นที่ตำบลหนองหารและบริเวณใกล้เคียง
ปรับปรุงข้อมูล : 30/1/2568 9:23:42     ที่มา : สถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 45

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม จดหมายข่าว

ข่าวล่าสุด

IQS ร่วมกับ INS LABSERVE จัดอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการหมัก Batch และ Fed-batch
วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ 2568 สถาบันคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ (IQS) ร่วมกับ บริษัท INS LABSERVE CO., LTD. จัดอบรมหลักสูตร "Batch and Fed-batch Fermentation Workshop from Seeding to Harvesting" ณ ห้องประชุม ชั้น 2 สถาบัน IQS ระหว่างวันที่ 6 - 7 กุมภาพันธ์ 2568 การอบรมครั้งนี้ประกอบด้วยภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ โดยเนื้อหาครอบคลุมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการหมักในการผลิตผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและอาหาร ผู้เข้าร่วมได้รับความรู้เกี่ยวกับกระบวนการเตรียมอาหารเลี้ยงเชื้อและหัวเชื้อจุลินทรีย์ (Media & inoculum preparation) การประกอบและเตรียมถังหมักก่อนนำไปฆ่าเชื้อ (Bioreactor assembly and preparation before autoclaving) กระบวนการหมักแบบกะ (Batch fermentation) การเชื่อมต่อถังหมักเข้ากับระบบควบคุม (Connect vessel to controller) และการลงเชื้อ (Inoculate) รวมถึงการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการดำเนินการหมักแบบ Fed-batch หลักสูตรนี้ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.เขมวิทย์ จันต๊ะมา อาจารย์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และ คุณวิรัตน์ อินทวี จากบริษัท INS LABSERVE CO., LTD. เป็นวิทยากร ซึ่งช่วยให้ผู้เข้าร่วมได้รับความรู้เชิงลึกและทักษะเชิงปฏิบัติที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง การอบรมครั้งนี้เป็นโอกาสสำคัญสำหรับนักวิจัย นักอุตสาหกรรม และผู้ที่สนใจด้านเทคโนโลยีการหมัก เพื่อเพิ่มพูนความรู้และเสริมสร้างศักยภาพในการผลิตผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและอาหารในอนาคต
6 กุมภาพันธ์ 2568     |      18
สถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ร่วมงาน Maejo Next Step 2025>> IWA การเกษตรอัจฉริยะเพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืน
เมื่อวันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 ผู้บริหารและบุคลากร IQS เข้าร่วมงาน Maejo Next Step 2025>> IWA การเกษตรอัจฉริยะเพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืน ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานเปิดโครงการพร้อมบรรยาย TED TALK ในหัวข้อ"ทิศทางเป้าหมายและยุทธศาสตร์การพัฒนา IWA : การเกษตรอัจฉริยะเพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืน โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุริยจรัส เตชะตันรองอธิการบดีกล่าวรายงาน โอกาสนี้นายแพทย์สันต์ ใจยอดศิลป์ ศัลยแพทย์หัวใจ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจระดับประเทศ ได้บรรยายพิเศษ TED TALK ในหัวข้อ "เวชศาสตร์วิถีชีวิต Lifestyle Medicine ซี่งสอดคล้องกับเทรนด์ของโลกที่กำลังเป็นกระแสความสนใจจากคนทุกกลุ่มเป็นอย่างมาก" การจัดงาน Maejo Next Step 2025 >> IWA การเกษตรอัจฉริยะเพื่อสุขภาวะที่ดูแลระบบสำหรับการสำรวจยุทธศาสตร์เกษตรอัจฉริยะเพื่อสุขภาวะที่ดี (Intelligence Well-being Agriculture : IWA) ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย ในงานมีกิจกรรม "เช็คอินบูสต์สุขภาพ" โดยทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ที่มีความสำคัญจากงานมากกว่า 300 คน ณ ห้องข้าวหอมมะลิ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมกันนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.ดนุวัต เพ็งอ้น ได้นำเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการสถาบันฯ มีนางริมฤทัย พุทธวงค์ รองผู้อำนวยการ ฝ่ายบริหารและห้องปฏิบัติการ ร่วมต้อนรับ และเยี่ยมชม โรงงานต้นแบบผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์ชีวภาพ มีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉันทนา ซูแสวงทรัพย์ รองผู้อำนวยการ ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม และ นายพัฒน์ โกจินอก หัวหน้าฝ่ายพัฒนาและส่งเสริมปัจจัยการผลิตจารย์ ร่วมต้อนรับ ขอบคุณภาพบางส่วนจากฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
5 กุมภาพันธ์ 2568     |      23